Air home
แอร์บ้าน
แอร์บ้านมีกี่ประเภท?
โดยหลักๆแล้ว ประเภทแอร์สามารถแบ่งได้ถึง 6 ชนิดแอร์ใหญ่ๆ โดยแบ่งตามตำแหน่งใช้งาน/ติดตั้ง ซึ่งเครื่องปรับอากาศทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน และอาคารสำนักงานขนาดเล็กซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด มี 6 ชนิดของแอร์คือ แบบติดผนัง, แบบตั้ง/แขวน, แบบตู้ตั้ง, แบบฝังเพดาน, แบบหน้าต่าง, แบบเคลื่อนที่ (ประสิทธิภาพอาจขึ้นอยู่กับ ชนิดน้ำยาแอร์ด้วย) ซึ่งรายละเอียดของ เครื่องปรับอากาศแต่ละประเภทจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป
ส่วนประกอบของแอร์บ้านมีอะไรบ้าง ?
แอร์ 1 เครื่อง 1 ชุด จะมีส่วนประกอบแอร์ ประกอบด้วย แฟนคอยล์ยูนิต (Fan coil unit) หรือ คอยล์เย็น (Indoor unit) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้อง เป็นตัวแอร์ที่ติดตั้งในที่พักอาศัย ซึ่งมีหน้าที่กระจายความเย็นออกจากตัวแอร์ ประกอบด้วยพัดลม และแผงคอล์ยเย็น
แอร์แบบติดผนัง เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบเล็ก เหมาะสำหรับใช้ในห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขกขนาดเล็ก โดยส่วนมาก นิยมใช้ในบ้านพักอาศัย หรือห้องเช่าห้องแถวต่างๆ มีจุดเด่นคือ เงียบ และง่ายต่อการติดตั้ง แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก
ข้อดี:
- รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย
- เงียบ
- ติดตั้งง่าย
ข้อเสีย:
- ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
แอร์แบบตั้งแขวน เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้อง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น ห้องนอน สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ซึ่งแอร์ประเภทนี้มีข้อดีคือ สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งพื้นและเพดาน รวมไปถึงมีการระบายลมที่ดี แต่จะมีเสียงดังในการทำงานนิดหน่อย
ข้อดี:
- สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน
- สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่
- การระบายลมดี
ข้อเสีย:
- ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก
แอร์แบบตู้ตั้ง เป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูงเหมือนตู้ และมีกำลังลมที่แรงมาก เหมาะกับบริเวณที่มีคนเข้า และออกอยู่ตลอดเวลา หรือห้องที่มีแต่กระจก เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง เป็นแอร์ที่ติดตั้งง่าย แต่จะเปรืองพื้นที่ใช้สอย เพราะฉะนั้นควรมีการวางตำแหน่งที่เหมาะสม
ข้อดี:
- ติดตั้งง่าย โดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องทำการยึด
- ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมที่ใหญ่ ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า
ข้อเสีย:
- เสียพื้นที่ใช้สอย
แอร์แบบฝังเพดาน เป็นเครื่องปรับอากาศที่เน้นความสวยงามมากๆ โดยมีการซ่อนตัวแอร์ หรือฝังอยู่ใต้ฝ้าหรือเพดานห้องบริเวณต่างๆ เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงามและการตกแต่ง โดยที่ต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด แต่ข้อเสียคือการดูแลรักษาที่ยาก
ข้อดี:
- สวยงาม โดยสามารถทำตู้ซ่อน หรือ ฝังเรียบไว้บนเพดานห้อง
ข้อเสีย:
- ติดตั้งยาก เนื่องจากต้องทำการฝังเข้าตู้ หรือเพดานห้อง
- การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก
แอร์แบบหน้าต่าง เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวบรวมส่วนประกอบทั้ง คอนเดนซิ่ง และแฟนคอยล์ มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งแอร์ประเภทนี้ติดตั้งโดยการฝังที่ตำแหน่งกำแพงห้องได้เลย เพราะฉะนั้นการติดตั้งแอร์จึงจำเป็นต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่าง หรือเจาะช่องที่ผนังเพื่อติดตั้ง ระวังการกระเทือนของแอร์ด้วยหละ
ข้อดี:
- ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต
- ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา
- ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
ข้อเสีย:
- มีเสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง
- ถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้
6. แบบเคลื่อนที่ (Movable type) เป็นแอร์ที่เริ่มมีความนิยมกันใช้มากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีจุดเด่นตรงที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และทำไปใช้งานได้ทุกพื้นที่ (เสียบปลั๊กใช้ได้เลย) แต่ข้อเสียก็คือ จะมีราคาแพง และให้ความเย็นไม่เท่าแอร์แบบติดตั้ง
ข้อดี:
ขนาดกะทัดรัด
ไม่ต้องติดตั้ง
สามารถเข็นไปได้ใช้ได้ทุกพื้นที่ ทั้งในห้อง และกลางแจ้ง
ข้อเสีย:
ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก
ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า เนื่องจากเป็นระบบเปิดเมื่อนำไปใช้กลางแจ้ง
แอร์แบบท่อลมนี้โดยมากมักจะใช้กันในบ้านใหญ่ๆหรือสำนักงานใหญ่ๆที่มีการแบ่งซอยเป็นห้องๆ เพราะจะเป็นการติดตั้งเพียงแค่ชุดเดียวและกระจายแรงลมแอร์ไปตามห้องต่างๆ
แอร์ดักท์ หมายถึง Duct type air-conditioner
เป็นแอร์แบบซ่อนในฝ้า หรือถ้าตัวใหญ่ก็ตั้งพื้น ต่อท่อลมส่งไปยังจุดต่างๆ ในอาคาร
ถ้าทำร้านสปา มีห้องนวดเยอะ ก็แบ่งห้องนวดเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม ใช้แอร์ 1 ตัว
ห้องนวดไม่ใหญ่มาก ปิดด้วยม่าน ใช้แอร์ประมาณห้องละ 3,000-4,000 บีทียู
แอร์ขนาดสัก 24,000 บีทียูก็จะทำความเย็นให้ห้องนวดได้ประมาณ 6-7 ห้อง
หรือขนาด 36,000 บีทียูก็จะทำความเย็นได้ประมาณ 10 ห้อง เป็นต้น
เป็นแอร์แบบซ่อนในฝ้า หรือถ้าตัวใหญ่ก็ตั้งพื้น ต่อท่อลมส่งไปยังจุดต่างๆ ในอาคาร
ถ้าทำร้านสปา มีห้องนวดเยอะ ก็แบ่งห้องนวดเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม ใช้แอร์ 1 ตัว
ห้องนวดไม่ใหญ่มาก ปิดด้วยม่าน ใช้แอร์ประมาณห้องละ 3,000-4,000 บีทียู
แอร์ขนาดสัก 24,000 บีทียูก็จะทำความเย็นให้ห้องนวดได้ประมาณ 6-7 ห้อง
หรือขนาด 36,000 บีทียูก็จะทำความเย็นได้ประมาณ 10 ห้อง เป็นต้น
ข้อเสีย ::
- ถ้าเครื่องเสียมันใช้ไม่ได้ทุกจุดทุกห้อง ถ้าแยกซอยเป็นห้องห้องไกลๆๆลมความเย็นจะน้อยมันควบคุมอุณหภูมในแต่ละจุดไม่ได้ ถ้าเป็นห้องกว้างรวมๆๆเหมือนสำนักงานจะเหมาะกว่าครับ ใช้แอร์แบบนี้
ความรู้เกี่ยวกับประเภทของแอร์ต่างๆเหล่านี้ คงทำให้ผู้อ่านมีความรู้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งเรื่องของส่วนประกอบแอร์บ้าน และความรู้เครื่องปรับอากาศ ไม่ถูกหลอกและไม่ใช้งานแอร์ในทางที่ผิด